บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

ต้นก้ามปู

รูปภาพ
ต้นก้ามปู 1. ราก และลำต้น รากจามจุรีมีระบบเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออกด้านข้าง รากแขนงมักแทงออกตามแนวนอนขนานกับผิวดินในระดับตื้นที่อาจยาวได้มากกว่า 10 เมตร เพื่อเป็นฐานพยุงลำต้นที่มีลักษณะทรงพุ่มกว้างใหญ่ลำต้นมี ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่สมมาตร แตกกิ่งในระดับต่ำประมาณ 3-5 เมตร กิ่งประกอบด้วยกิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา เมื่อต้นแก่จะมีสีดำเป็นแผ่นสะเก็ด กิ่งอ่อนมีสีขาวเทา กิ่งแก่มีสีน้ำตาล ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบเล็ก ปลายใบมนกว้าง ประกอบด้วยก้านใบหลัก และก้านใบย่อย โดยก้านใบหลักจะแทงออกบริเวณปลายกิ่ง เรียงสลับข้างกัน ก้านใบหลัก 1 ก้าน มีก้านใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ แต่ละคู่อยู่ตรงข้ามกันบนก้านใบ ก้านใบแต่ละคู่ มีจำนวนใบย่อยแตกต่างกัน ก้านคู่แรกจะมีจำนวนใบย่อยน้อยที่สุด 2-3 คู่ใบย่อย ส่วนก้านใบย่อยคู่ที่ 3-5 จะมีใบย่อยประมาณ 56 คู่ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง และสีน้ำตาลตามลำดับจนถึงระยะร่วงของใบ  ดอกจามจุรีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นช่อ แทงออกบริเวณปลายกิ่งเหนือซอกใบ มีก้านช่อ

ต้นปาริชาต

รูปภาพ
ต้นปาริชาติ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ปาริชาต เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุและเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก (Svargaloka) ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล  ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาตจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา (Satyabhama) ชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี (Rukamini) ชายาอีกคน จะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาตไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาตร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาตจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์   อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาตก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาตก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง  บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาร

ต้นข่อย

รูปภาพ
ต้นข่อย ลักษณะทั่วไปของข่อย สำหรับต้นข่อยนั้นเป็นไม้ยืนต้น โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนๆ และขรุขระบ้างเล็กน้อยจะแตกเป็นแผ่นบางๆ อีกทั้งรอบลำต้นข่อยนี้จะมียางขาวๆ ข้นๆ ไหลซึมออกมาด้วย โดยกิ่งและก้านนั้นจะค่อนข้างงอ และแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ และบริเวณรอบๆ ลำต้นจะมีปุ่มหรือเป็นร่องหรือเป็นพู ขึ้นได้ทั้งแบบเดี่ยวและเป็นกลุ่ม ขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กเรียงแบบสลับรูปทรงรี เนื้อใบหนาและกรอบสีเขียว ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบหยัก ซึ่งดอกของต้นข่อยนี้จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง และผลข่อยนั้นจะเป็นลูกทรงกลมคล้ายไข่สีเขียว เมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองให้รสหวานอร่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย ใบ – ซึ่งสามารถนำไปชงน้ำร้อนดื่มเพื่อช่วยระบาย หรือบำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อย ขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดท้องจากประจำเดือน และยังสามารถนำไปตำผสมข้าวสารคั้นน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ช่วยให้อาเจียนเพื่อถอนพิษยาเมายาเบื่อ หรืออาหารแสลง ให้รสเมาเฝื่อน เปลือกต้น – ใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อทาหัวริดสีดวง ช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือ

ต้นเฟื่องฟ้า

รูปภาพ
ต้นเฟื่องฟ้า ประวัติเฟื่องฟ้า ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากทางยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชกาลที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย[2] ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแด

ต้นดอกเเก้ว

รูปภาพ
ต้นดอกเเก้ว ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้ง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี  ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ  ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด  กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตรโคนกลีบดอกติดกัน  สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี สรรพคุณของต้นแก้ว       ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)        ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก)[3]        ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก,ใบ)        ช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ใบ)

ต้นสเม็ดเเดง

รูปภาพ
ต้นสเม็ดเเดง  เป็นไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก : ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน  ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผล : ลักษณะกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน เมล็ด : ลักษณะเหมือนลิ่ม การใช้ประโยชน์ : - ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี หรือใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ - น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน - ใบอ่อน กินเป็นยาขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม กินมากเป็นยาขับพยาธิ - ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ รส เปรี้ยวใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม น้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่างๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เ

ต้นปาล์ม

รูปภาพ
ต้นปาล์ม 1. ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะใบของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนน

ต้นจำปี

รูปภาพ
ต้นจำปี ใบจำปี มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบสีเขียว โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาและมีขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกจำปี ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอม มีสีขาวคล้ายกับสีงาช้าง ดอกมีกลีบซ้อนกันอยู่ 8-10 กลีบ กลีบดอกจะเรียวกว่าดอกจำปา และมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ส่วนตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็ก ๆ โดยดอกจำปีจะออกดอกได้ตลอดทั้งปี ผลจำปี ลักษณะของผลเป็นกลุ่ม เมื่อแก่จะแห้งแตก ลักษณะคล้ายทรงไข่หรือทรงกลม บิดเบี้ยวเล็กน้อย ผลแก่มีสีแดง ด้านในมีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำประมาณ 1-4 เมล็ด สรรพคุณของจำปีใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ผล)ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ดอก, ผล)ดอกมีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)ช่วยบำรุงประสาท (ดอก)กลีบดอกมีน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะได้ (กลีบดอก)น้ำมันดอกจำปีมีสารที่ออกฤทธิ์ในการสงบประสาทและช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ (ดอก)ช่วยแก้อาการตาบวม (น้ำมันจากดอกจำปี)ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น, ดอก, ผล)น้ำที่สกัดจากใบมีฤทธิ์ช่วยระงับอาการไอ หอบได้ แต่ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่าน

ต้นมะพร้าว

รูปภาพ
ต้นมะพร้าว ลำต้น เมื่อต้นมะพร้าวถูกโค่นล้มลงแล้วยังสามารถดัดแปลงเป็นฟอนิเจอร์ประดับในบ้านได้หรือน้ำหมักที่สกัดอย่างดีแล้วยังสามารถรักษาแผลขี้เรื้อนของสุนัข หรือ สัตว์ในบ้านได้ ซึ่งน้ำมันมะพร้าวมีความชุ่มชื้นมาก กระทั่งสามารถแก้ผื่นคัน ที่เกิดจากอาการแพ้ของมนุษย์  ก้านมะพร้าว หรือแกนใบ นำมาผลิตงานหัตถกรรมได้หลายอย่าง เช่น ไม้กวาด เสวียนหม้อ หรือก้นหม้อ ที่รองจาน เครื่องประดับข้างฝา โป๊ะไฟฟ้า พัด ที่หุ้มภาชนะปักดอกไม้ กระเป๋าถือสตรี กระจาดใส่ผลไม้ เป็นต้น กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว มีคุณสมบัติแข็งแรง คงทนต่อน้ำและน้ำทะเล มีความยืดหยุ่น และสปริงดี นำมาทำเชือก ทำพรม กระสอบ แปรงชนิดต่างๆ อวน ไม้กวาด เส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น  ใบมะพร้าว ใช้สานเป็นภาชนะใส่ของชั่วคราว ห่อขนม สานหมวกกันแดด สานเป็นเครื่องเล่นเด็ก และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปสัตว์ต่างๆ ของที่ระลึกประดับตกแต่ง   รากมะพร้าว เป็นเส้นยาว เหนียวมาก ใช้สานเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย จำพวกตะกร้า ถาด ภาชนะสำหรับดอกไม้หรือใส่ของต่างๆ ประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมของที่ระลึก  รกมะพร้าว หรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว

ต้นสนสามใบ

รูปภาพ
ต้นสนสามใบ    ลักษณะของสนสามใบ ต้นสนสามใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร วัดรอบได้ประมาณ 30-40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแตกออกเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น ๆ รูปตาข่าย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแกมสีชมพู ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย[1],[2],[3] มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า และมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มักพบขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ บนเขาหรือตามเนินเขา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000-1,600 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นได้เป็นกลุ่ม ๆ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าสนเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,600 เมตร ใบสนสามใบ ใบมีขนาดเล็กยาวเรียว ออกเป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปเข็ม เรียงสลับ มีความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ดอกสนสามใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก โดยจะออกใกล้ ๆ กับปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวหรืออย่างมากจะ

ต้นไผ่เลี้ยง

รูปภาพ
ต้นไผ่เลี้ยง ไผ่เลี้ยง  เชื่อว่าเป็นไม้นำเข้า เนื่องจากไม่พบตามธรรมชาติในป่าลึก ไผ่เลี้ยงมีลักษณะลำต้นตรง เนื้อหนา จึงเหมาะสำหรับใช้ทำบันได โป๊ะ หลักไม้สำหรับเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อีกทั้งหน่ออ่อนก็ใช้บริโภค มีรสชาติดี ไผ่เลี้ยง เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรง สีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม เนื้อลำหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-7 เซนติเมตร สูง 8-12 เมตร หน่อสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขนที่กาบใบ ต่างกับไผ่รวกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน  วิธีขยายพันธุ์  ดีที่สุดคือการแยกเหง้า เริ่มแยกได้เมื่อไผ่มีอายุ 2-3 ปี หากอายุเกิน 3 ปี ต้นที่แยกออกไปจะไม่แข็งแรง คัดเลือกต้นหรือลำที่แข็งแรง ตัดให้สั้นเหลือตอไว้ สูง 50-80 เซนติเมตร บำรุงต่อไปให้ผลิใบ และแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ แล้วใช้เสียมคม และสะอาด ตัดแซะออกชำในถุงเพาะชำ มีแกลบดำ หรือดินขุยไผ่เป็นวัสดุเพาะ ดูแลรักษาให้แข็งแรง เมื่ออายุ 8-12 เดือน นำปลูกลงแปลงได้ แปลงปลูกถ้าเป็นที่นา จำเป็นต้องยกร่องสวน แต่ถ้าหากเป็นที่ดอน ปรับที่แล้วปลูกได้เลย ช่วงปลูกดีที่สุดคือ ต้นฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร ใน 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น หรือ 100 กอ ระยะ 1-2 ปีแรก ที่ว่างระห

ต้นมะม่วงหินมะพาน

รูปภาพ
ต้นมะม่วงหินมะพาน มะม่วงหิมพานต์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale) เป็นไม้ดอกยืนต้น ในวงศ์ Anacardiaceae กลุ่มเดียวกับมะม่วง (mango) และถั่วพิสตาชีโอ มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งเรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "กาฌู" (caju - ผล) หรือ "กาฌูเอย์รู" (cajueiro - ต้น) ปัจจุบันเติบโตแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ด และผล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด) คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ, บี, อี และเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูง 10-12 เมตร ต้นเตี้ย สยายกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ ใบจัดเรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น รูปโค้งจนถึงรูปไข่ ความยาว 4-22 เซนติเมตร และกว้าง 2-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ส่วนดอกนั้นเกิดจาก ที่ยาวถึง 26 เซนติเมตร แต่ละดอกตอนแรกมีสีเ

ต้นหมากสง

รูปภาพ
ต้นหมากสง หมากสง  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Areca catechu ) หรือที่เรียกทั่วไปว่า " หมาก " ( พืชที่เรียกว่า "หมาก" นั้น มีด้วยกันหลายชนิด นักพฤกษศาสตร์จึงเรียกหมากที่ใช้กินกับใบพลูว่า "หมากสง" ) เป็น พืช จำพวก ปาล์ม  เป็นชนิดหนึ่งในสกุล  Arecaceae  นับว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในหลายท้องถิ่น ในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่วนสำคัญของพืชชนิดนี้ คือ  เมล็ด  ซึ่งมีสารจำพวก  อัลคาลอยด์  (alkaloid) อันประกอบด้วย อาเรเคน (arecaine) และ อาเรโคลีน (arecoline) นิยมนำมาเคี้ยวกับหมากใบและใบ พลู  ซึ่งนับว่าเป็น สารเสพติด อย่างอ่อน หมากพบได้ในหลายประเทศของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เอเชียใต้  แถบ มหาสมุทรแปซิฟิก ในส่วนที่เป็นเขตร้อน และบางส่วนของ ทวีปแอฟริกา ใน ภาษาอังกฤษ  เรียกหมากว่า "Betel palm" หรือ "Betel nut" ทั้งๆ ที่ คำว่า " betel" แปลว่า  พลู  ที่เรียกเช่นนี้ เพราะชาวอังกฤษ (ในสมัยโบราณ) เห็นว่าหมากนิยมเคี้ยวกับพลูนั่นเอง

ต้นอโสก

รูปภาพ
ต้นอโสก ลักษณะของต้นโสก ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในบ้านเราพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยจะขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร ใบโสก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ แกนกลางใบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 1-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกปลายใบมนหรือแหลม โคนใบกลม เป็นรูปหัวใจ หรือเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร แผ่นใบบาง เกลี้ยง ใบอ

ต้นยูคาลิปตัส

รูปภาพ
ต้นยูคาลิปตัส ยูคาลิปตัส  ( อังกฤษ :  Eucalyptus ) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปออสเตรเลีย   เกาะแทสเมเนีย  มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ. 2444  [1] โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส [ แก้ ] โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัสซึ่งประกอบด้วย เปลือกไม้ซึ่งอยู่ด้านนอกสุดและเนื้อไม้ที่ซ่อนอยู่ด้านใน โดยในส่วนของเนื้อไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก  คือ “กระพี้” หรือเนื้อไม้ด้านนอกซึ่งอยู่ติดกับเปลือกไม้และเป็นที่อยู่ของท่อลำเลียงน้ำ (xylem) จำนวนมาก ส่วนที่สอง  คือ “แก่น” หรือเนื้อไม้ด้านในสุดซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระพี้ เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มที่พื้นที่ของกระพี้ก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างท่อลำเลียงน้ำใหม่ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำอันเก่าหลังจากใช้งานมานานก็จะมีการสะสมของสารต่างๆ ภายในเซลล์ จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นแก่นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้อีก ซึ่งยูคาลิปตัสนั้นจะมีแก่นก็ต่อเมื่ออายุเกิน 15 ปีขึ้นไป ยูคาลิปตัสเป็นไม้

ต้นมะม่วง

รูปภาพ
ต้นมะม่วง มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน[2] มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก [3]เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย[4] ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ สายพันธุ์ มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู

ต้นมะนาว

รูปภาพ
ต้นมะนาว ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 เซนติเมตร ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีใบดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าแล้ง จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19) ก็คือ การป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักเดินเรือมาช้านาน

ต้นสัก

รูปภาพ
ต้นสัก ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด ลำต้น - เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เปลือกหนาประมาณ 0.3-1.7 เซนติเมตร เนื้อไม้มีสีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ ใบ - เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ผิวใบมีขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก - มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผล - เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1-3 เมล็ด ประโยชน์

ต้นพยูง

รูปภาพ
ต้นพยูง ลักษณะของต้นพะยูง ต้นพะยูง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา และล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันก็คือ การนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมกันมาก สำหรับวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยการนำเหง้ามาปักชำ สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ต้นพะยูงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง และขึ้นประปรายทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร ใบพะยูง ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นช่อแบบขนนกปลายคี่ ช่อติดเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบและช่อจะใ

ตะเคียนทอง

รูปภาพ
ต้นตะเคียนทอง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 1. ลำต้น ต้นเทียนทองเป็นไม้ประดับขนาดกลาง มีลำต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ทรงพุ่มกว้างได้มากกว่า 0.5 เมตร แตกกิ่งตั้งแต่ระดับลำต้นเหนือดิน แตกกิ่งจำนวนมาก ลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทา ผิวสากเล็กน้อย กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลดำ กิ่งยาวได้มากกว่า 40 ซม. 2. ใบ ใบ แตกออกเป็นคู่อยู่คนละข้างของกิ่ง ระยะห่างแต่ละคู่ประมาณ 1-3 ซม. ขึ้นกับอายุกิ่ง ใบมีลักษณะเรียวรี ยาวประมาณ 5 ซม. กว้างประมาณ 1.5-2.5 ซม. ขึ้นอยู่กับอายุใบ โคนใบ และปลายใบแหลม ใบอ่อนหรือยอดอ่อนบริเวณปลายกิ่งมีสีเหลืองทอง ใบบริเวณโคนกิ่งมีสีเหลืองออกเขียวอ่อน 3. ดอก ดอกเทียนทองออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง 3-5 ช่อ ช่อปลายมีขนาดใหญ่สุด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกประมาณ 8-20 ดอก ช่อดอกปลายกิ่งมีจำนวนมากที่สุด แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีม่วงอ่อน 5 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 2.5 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. มีโคนกลีบเชื่อมติดกัน แผ่นกลีบ และขอบกลีบโค้งงอ ปลายกลีบโค้งมน กลางกลีบมีเส้นสีม่วงเข้ม 1 เส้น พาดผ่านจากโคนกลีบถึงปลายกลีบ ตรงกลางดอกมีลักษณะเป็นกรวย ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ดอกจะบานจากบริเวณโคนช่อไปห