ต้นข่อย

ต้นข่อย

ลักษณะทั่วไปของข่อย
สำหรับต้นข่อยนั้นเป็นไม้ยืนต้น โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนๆ และขรุขระบ้างเล็กน้อยจะแตกเป็นแผ่นบางๆ อีกทั้งรอบลำต้นข่อยนี้จะมียางขาวๆ ข้นๆ ไหลซึมออกมาด้วย โดยกิ่งและก้านนั้นจะค่อนข้างงอ และแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ และบริเวณรอบๆ ลำต้นจะมีปุ่มหรือเป็นร่องหรือเป็นพู ขึ้นได้ทั้งแบบเดี่ยวและเป็นกลุ่ม ขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กเรียงแบบสลับรูปทรงรี เนื้อใบหนาและกรอบสีเขียว ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบหยัก ซึ่งดอกของต้นข่อยนี้จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง และผลข่อยนั้นจะเป็นลูกทรงกลมคล้ายไข่สีเขียว เมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองให้รสหวานอร่อย

ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย
ใบ – ซึ่งสามารถนำไปชงน้ำร้อนดื่มเพื่อช่วยระบาย หรือบำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อย ขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดท้องจากประจำเดือน และยังสามารถนำไปตำผสมข้าวสารคั้นน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ช่วยให้อาเจียนเพื่อถอนพิษยาเมายาเบื่อ หรืออาหารแสลง ให้รสเมาเฝื่อน
เปลือกต้น – ใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อทาหัวริดสีดวง ช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือรำมะนาด ทำให้ฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยดับพิษทั้งในกระดูกและเส้น และแก้โรคเรื้อน พยาธิผิวหนัง ตลอดจนช่วยดับพิษต่างๆ และแก้มะเร็ง ให้รสเมาฝาดขม
กระพี้ – ช่วยแก้มะเร็ง และพยาธิ หรือฝนกับน้ำปูนใสแก้ผื่นคัน ให้รสเมาฝาดขม
เยื่อหุ้มกระพี้ – ขูดออกมาเพื่อใช้เป็นยาสูบแก้อาการริดสีดวงจมูก ให้รสเมาฝาดเย็น
ราก – ช่วยในการรักษาบาดแผล ให้รสเมาฝาดขม
เปลือกราก – ใช้บำรุงหัวใจ (พบมีสารบำรุงหัวใจมากกว่า 30 ชนิด) ให้รสเมาขม
ลูก – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้กระษัย แก้ลม และขับลมจุกเสียด ให้รสเมาหวานร้อน
เมล็ด – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับผายลม และบำรุงธาตุเจริญอาหาร รวมทั้งอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการโลหิตและลม ให้รสเมามันร้อน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นปาริชาต

ต้นสัก

ต้นมะม่วงหินมะพาน