บทความ

ต้นก้ามปู

รูปภาพ
ต้นก้ามปู 1. ราก และลำต้น รากจามจุรีมีระบบเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออกด้านข้าง รากแขนงมักแทงออกตามแนวนอนขนานกับผิวดินในระดับตื้นที่อาจยาวได้มากกว่า 10 เมตร เพื่อเป็นฐานพยุงลำต้นที่มีลักษณะทรงพุ่มกว้างใหญ่ลำต้นมี ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่สมมาตร แตกกิ่งในระดับต่ำประมาณ 3-5 เมตร กิ่งประกอบด้วยกิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา เมื่อต้นแก่จะมีสีดำเป็นแผ่นสะเก็ด กิ่งอ่อนมีสีขาวเทา กิ่งแก่มีสีน้ำตาล ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบเล็ก ปลายใบมนกว้าง ประกอบด้วยก้านใบหลัก และก้านใบย่อย โดยก้านใบหลักจะแทงออกบริเวณปลายกิ่ง เรียงสลับข้างกัน ก้านใบหลัก 1 ก้าน มีก้านใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ แต่ละคู่อยู่ตรงข้ามกันบนก้านใบ ก้านใบแต่ละคู่ มีจำนวนใบย่อยแตกต่างกัน ก้านคู่แรกจะมีจำนวนใบย่อยน้อยที่สุด 2-3 คู่ใบย่อย ส่วนก้านใบย่อยคู่ที่ 3-5 จะมีใบย่อยประมาณ 56 คู่ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง และสีน้ำตาลตามลำดับจนถึงระยะร่วงของใบ  ดอกจามจุรีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นช่อ แทงออกบริเวณปลายกิ่งเหนือซอกใบ มีก้านช่อ

ต้นปาริชาต

รูปภาพ
ต้นปาริชาติ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ปาริชาต เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุและเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก (Svargaloka) ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล  ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาตจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา (Satyabhama) ชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี (Rukamini) ชายาอีกคน จะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาตไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาตร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาตจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์   อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาตก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาตก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง  บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาร

ต้นข่อย

รูปภาพ
ต้นข่อย ลักษณะทั่วไปของข่อย สำหรับต้นข่อยนั้นเป็นไม้ยืนต้น โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนๆ และขรุขระบ้างเล็กน้อยจะแตกเป็นแผ่นบางๆ อีกทั้งรอบลำต้นข่อยนี้จะมียางขาวๆ ข้นๆ ไหลซึมออกมาด้วย โดยกิ่งและก้านนั้นจะค่อนข้างงอ และแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ และบริเวณรอบๆ ลำต้นจะมีปุ่มหรือเป็นร่องหรือเป็นพู ขึ้นได้ทั้งแบบเดี่ยวและเป็นกลุ่ม ขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กเรียงแบบสลับรูปทรงรี เนื้อใบหนาและกรอบสีเขียว ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบหยัก ซึ่งดอกของต้นข่อยนี้จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง และผลข่อยนั้นจะเป็นลูกทรงกลมคล้ายไข่สีเขียว เมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองให้รสหวานอร่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย ใบ – ซึ่งสามารถนำไปชงน้ำร้อนดื่มเพื่อช่วยระบาย หรือบำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อย ขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดท้องจากประจำเดือน และยังสามารถนำไปตำผสมข้าวสารคั้นน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ช่วยให้อาเจียนเพื่อถอนพิษยาเมายาเบื่อ หรืออาหารแสลง ให้รสเมาเฝื่อน เปลือกต้น – ใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อทาหัวริดสีดวง ช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือ

ต้นเฟื่องฟ้า

รูปภาพ
ต้นเฟื่องฟ้า ประวัติเฟื่องฟ้า ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากทางยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชกาลที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย[2] ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแด

ต้นดอกเเก้ว

รูปภาพ
ต้นดอกเเก้ว ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้ง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี  ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ  ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด  กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตรโคนกลีบดอกติดกัน  สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี สรรพคุณของต้นแก้ว       ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)        ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก)[3]        ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก,ใบ)        ช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ใบ)

ต้นสเม็ดเเดง

รูปภาพ
ต้นสเม็ดเเดง  เป็นไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก : ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน  ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผล : ลักษณะกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน เมล็ด : ลักษณะเหมือนลิ่ม การใช้ประโยชน์ : - ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี หรือใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ - น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน - ใบอ่อน กินเป็นยาขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม กินมากเป็นยาขับพยาธิ - ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ รส เปรี้ยวใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม น้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่างๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เ

ต้นปาล์ม

รูปภาพ
ต้นปาล์ม 1. ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะใบของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนน